วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2

คำถาม-ตอบ
1.วินโดว์ใดที่พัฒน์จากวินโดว์เซเวน
ตอบ Windows8
2.เมืองอิเดียที่ผลิตนักโปรแกรมที่เก่งที่สุดในโลกคือเมืองอะไร
ตอบ บังกาลอร์

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2
1.ฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
2.หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการเซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ  สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
4.ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ   1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
          2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
          3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ
5.Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ  เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย
6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)
7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก  เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล
8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
         ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
         ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASC
         ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล
9.การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์
10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ “สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส 3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit
11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nonvolatile memory
ส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด
12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่ Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)
13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
อ้างอิง  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

แบบฝึกหัดบทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอกด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ลักษณะเด่นมีดังนี้
-ความเป็นอัตโนมัติคือ คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอินเล็กทรอนิกส์มีการจัดเก็บหรือดัดแปลงข้อมูล
-ความเร็ว คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูงต่างจากการประมวลงานในอดีตที่อาศัยแรงมนุษย์
-ความถูกต้อง แม่นยำ คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อย
-ความน่าเชื่อถือ คือข้อมูลที่ได้รับจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช่ประโยชน์ได้
-การจัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบทั้งเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลายๆล้านตัวอักษร
-ทำงานซ้ำๆได้ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำๆกันได้หลายรอบช่วยลดปัญหาความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน
-การติดต่อสื่อสาร คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบัน
3.แท่งคำนวณของ(Napier's bone) สร้างขึ้นมาโดยใครและมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตาราง เพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์
4.ผู้ที่ได้ชื่อเป็นบิดา"คอมพิวเตอร์"คือใคร และเหตุผลใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ บิดาของวิทยาศาสตร์ชื่อ ชาร์ลส แบบเบจ เนื่องจากพยายเสนอแนวคิดให้ให้เครื่องจักรกลสามารถทำงานได้ตามคำสั่งเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่าง มาก
7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกาเครื่อง UNIVAC (UNIversal Automatic Computer)ในปี ค.ศ.1951 บริษัท Remington Rand (บริษัทของมอชลี่และเอ็คเคิร์ทเดิม) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า UNIVAC (UNIversal Automatic Computer) เพื่อใช้งานในเชิงธุรกิจเป็นครั้งแรก โดยนำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา เครื่องนี้ใช้หลอดสุญญากาศ 5,000 หลอด แต่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตกันมาก่อนหน้านี้มาก สามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว นับได้ว่าเป็น “เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ” Mauchly และ Eckert กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรกที่ชื่อว่า UNIVAC
.8.ทรานซิสเตอร์กับแผนวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมากเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์
9. E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสน เทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาลได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ
10..สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาโดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น ช่องทางที่1โทรศัพท์ ช่องทางที่2อินเทอร์เน็ต ช่องทางที่3 ตู้ เอทีเอ็มโดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที
11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้นถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิม ไม่สามารถทำได้
12.รูปแบบของ E-Banking สามารถทำได้โดยผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อยทั้งยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่อง ทางมาก เช่น
- ผ่านเครือข่ายอินเตอร์ การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้เข้าไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
- ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรม ก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
- ผู้ตู้ATMผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคาร
พาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเ้ทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระ ค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม.
13.คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจกรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ืทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและพกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุรสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย
14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์อื่นๆมา
15.PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- Palm เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เกิดขึ้นมาก่อน มีระบบปฎิการที่เป็นของตัวเองที่เรียกว่า palm os เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำ
- Pocket Pc คล้ายกับเครื่อง palm แต่จะมีระบบปฎิบัติการที่ไม่เหมือนกัน คือ จะใช้ระบบปฎิบัติการที่เป็น ของบริษัทไมโครซอฟท์ สำหรับการใช้วินโดว์บนเครื่อง พีซี จะสามารถใช้งานได้ง่าย
16.ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่น รับรู้หรือจดจำเสียงมนุษย์ได้ เช่น ระบบที่เรียกว่า speech recognition ซึ่งสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำต่างๆ แล้วเอาไปวิเคราะห์พร้อมทั่งสั่งการได้เองอัตโนมัติเป็นการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ เช่น ป้อน ข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ของผู้ใช้ลงไปได้มาก เป็นต้น
อ้างอิง จากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ