วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่10

1.Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
ตอบ. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถ
ใช้งานอินเทอร์ มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมง
สำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครืองข่ายของตนเองเข้ากับ
ISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2.จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ

ตอบ. อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ั่ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่าย
ของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการ
ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

 3.เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า
HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษา
คอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Golive
เว็บไซท์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน
สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน
4.จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
ตอบ. บริการ Chat
- เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่
เพื่อนฟูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว
สามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSN
บริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต
- สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบร์อดหรือกระทู้ที่มีการ
แชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิ๊กดาวโหลดมาฟังได้ในทันที
5.หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ. ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือ
ผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไป
ขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่
แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึง
จะสามารถใช้งานได้   
6.Modem คืออะไร
ตอบ. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณ
อนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณ
กลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง
7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ. การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่
การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที-
สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ
Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการ
แปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น
เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง
8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษา
ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
ตอบ. โปรแกรมเว็บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซร์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ
นิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพี่ยงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซร์หรือ URL ที่ถูก
ต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่าง
โปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , Opera และ Plawan
เป็นต้น
อ้างอิง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่9

1.นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือ ข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้
2.ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง และยากต่อการควบคุมดูแล เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูล อยู่เป็นต้น
  3.สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญานรบกวน การเดิน- สายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB เท่านั้น
4.จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย "ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญ- ญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น จากหลาย ๆ สถานีฟร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญ-ญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลัง ตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
5.จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ. - Server
คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ เช่น Mail server,File server,Web server Pint server,Database server เป็นต้น
- Client

คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั้นเอง
6.HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยบย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้ เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเรา อาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24 พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น
7.จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
- 1000Base-T
เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบ Category5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
- Gigabit Ethernet
หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สาย Fiberoptic)สามารถ
ส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว 1000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความ
เร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรอง
รับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
- 10 Gigabit Ethernet
เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ คือทำได้ถึง 10000 Mbps หรือ
10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมืองหรือ
WAN เป็นต้น

8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (Shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมักใช้กับเครือ
ข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้อง
มีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสาสยแบบอื่นที่มีราคา
ถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า

9.จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Route
ตอบ. Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลาย
ทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ Router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่าย
อื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปแบบข้อมูลตามแบบ

อ้างอิง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
     

แบบฝึกหัดท้ายบทที่8

1. ผังงาน (flowchart) คืออะไร
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า

2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้
2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
4.จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ. 1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
4. )หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงาน จะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม
อ้างอิง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่7

1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป
ตอบ ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ
3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตอบ การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน
4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ คือบุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ
5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ 1.) มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2.) มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.) มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.) ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5.) มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.) ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7.)มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8.) สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
10.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.) สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12.) เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้
ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน
7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ 1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้
8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบเป็นต้น
9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร
10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
ตอบ คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว

 

แบบฝึกหัดท้ายบทที่6

1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี มีดังต่อไปนี้
- ความถูกต้อง (accuracy)
ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผล จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น เพราะหากนำข้อมูลที่ผิดมาประมวลผล จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการผิดพลาดตามไปด้วย
- มีความเป็นปัจจุบัน (update)
ข้อมูลซึ่งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้กับอีกช่วงเวลาในปัจจุบันได้ การพิจารณาเลือกเอาข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
-ตรงตามความต้องการ (relevance)
ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ข้อมูลที่ถึงแม้จะถูกต้องมากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือช่วยในการตัดสินใจใดๆได้
- ความสมบูรณ์ (complete)
ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผล บางครั้งอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จริงๆ ความสมบูรณ์นี้อาจหมายถึงข้อมูลนั้นต้องมีความครบถ้วนด้วย เช่น ในระบบงานบุคลากรหากเราสนใจเพียงแค่ข้อมูลของพนักงานเฉพาะวุฒิการศึกษาและความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดหรือเพศของพนักงาน กรณีที่นำเอาข้อมูลไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาบุคลากร อาจเอาไปใช้ได้อย่างไม่เต็มที่ เพราะบอกไม่ได้ว่าพนักงานแต่ละเพศหรือมีช่วงวัยที่ต่างกัน มีความสามารถที่แตกต่างกันจริงหรือไม่ (เพราะข้อมูลไม่มีความสมบูรณ์นั่นเอง)
- สามารถตรวจสอบได้ (verifiable)
ข้อมูลที่ดี ควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงต่างๆได้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อการนำมาประมวลผล ข้อมูลที่ขาดการตรวจสอบหรือไม่มีความน่าเชื่อถืออาจเป็นกลลวงของคู่แข่งขัน หรือทำให้การประมวลผลได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ผิดตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลเสียหายในภายหลังได้
2. ข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถาบันการศึกษา อาจพอยกตัวอย่างข้อมูลภายในได้ดังนี้
- จำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสถาบัน
ซึ่งสามารถแยกหรือหาข้อมูลย่อยๆได้อีกเช่น จำนวนนักศึกษาชาย จำนวนนักศึกษาหญิง จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานด้านสถิติและทะเบียนนักศึกษาของสถาบันที่สังกัด
- หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา ถือเป็นข้อมูลภายในเช่นเดียวกัน ซึ่งในหลายสถาบันอาจมีข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา หรือรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้สอน เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการที่กำกับดูแลด้านหลักสูตรโดยตรง
- คณะหรือสาขาวิชาที่มีอยู่
จำนวนคณะหรือสาขาวิชาในแต่ละสถาบันการศึกษา อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน เหมือนกับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร บางสถาบันอาจมีคณะเพียง 2-3 คณะ บางสถาบันอาจมีมากกว่านั้นได้ บางคณะอาจมีสาขาวิชาสังกัดอยู่เพียงไม่กี่สาขา แต่บางคณะอาจมีอยู่หลายสาขา สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการเช่นเดียวกัน
3.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ขาย อาจประกอบด้วยเรคอร์ดของสินค้าหลายๆชนิดที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาสินค้า และจำนวนที่ขายได้ เป็นต้น
4. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวลผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้ เช่นค่าเฉลี่ยคะแนนของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สามารถบ่งชี้หรือนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติอีกได้ถือเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งอาจได้มาจากการเก็บรวบรวมคะแนนของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มการเรียน(section) ที่ได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เป็นต้น
5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์ (key field) เพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิด ซึ่งทำให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ดที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น
6. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential file structure) ถือเป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรมจะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียกค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา
7. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง ไม่ต้องรอหรือผ่านเรคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ก็สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์
8. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ทุกฝ่ายหรือทุกหน่วยงานสามารถเลือกใช้ได้และยังทำให้ข้อมูลที่ใช้นั้นมีความตรงกัน และลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลลงไปได้ เช่น แต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้าของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็นค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้
9.ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้ กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DataBase Management Systems เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้ รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง
11. ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างของคำสั่งประกอบ
ตอบ ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้ ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQL ซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE
ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
-INSERT
ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT
ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
-UPDATE
ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
12. ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
-สร้างฐานข้อมูล
โดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน
- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล
ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูล
DBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A ได้ เป็นต้น
- สร้างรูปแบบและรายงาน
การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย